วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การจัดการสำนักงานอัตโนมัติ(ปัจจุบัน)


สำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation)
องค์การหรือบริษัทขนาดใหญ่เริ่มมีความคิดที่จะหันมาทำสำนักงานอัตโนมัติ โดยนำระบบ  ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงานของสำนักงานให้มี ความรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ และลดปริมาณการใช้ทรัพยากรมนุษย์ที่มีอยู่อย่างจำกัด การจัดการสำนักงานอัตโนมัติจะเข้ามาช่วยในเรื่องการตัดสินใจ การเก็บข้อมูล การจัดทำเอกสาร การติดต่อสื่อสาร และ การเก็บรักษา มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. การตัดสินใจ (Decision Making) ผู้บริหารจำเป็นจะต้องมีข้อมูลที่ถูกต้องและสามารถนำมาใช้ได้ทันการณ์ดังนั้นสำนักงานจึงควรมีระบบการจัดเก็บข้อมูลให้อยู่ในรูปของฐานข้อมูลซึ่ง          ผู้บริหารสามารถเรียกข้อมูลขึ้นมาดู และสามารถใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System) ช่วยในการหาทางเลือกให้กับผู้บริหาร
2. การเก็บข้อมูล (Data Manipulation) ข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นการจัดเก็บข้อมูลจะต้องมีการคัดเลือกข้อมูลจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ และคัดเลือกข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ
3. การจัดทำเอกสาร (Document Handling) จะต้องมีระบบการจัดทำเอกสารที่ถูกต้อง รวดเร็ว โดยเก็บรูปแบบการทำเอกสารไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ หากต้องการเอกสารก็สามารถสั่งพิมพ์ได้
4. การติดต่อสื่อสาร (Communication) ในสำนักงานถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อจะทำให้พนักงานฝ่ายต่างๆ ได้เข้าใจซึ่งกันและกัน และทำให้การติดต่อธุรกิจระหว่างองค์การกับบุคคลภายนอกได้สะดวก โดยเฉพาะในปัจจุบันการติดต่อสื่อสารทางไกลมีบทบาทช่วยสำนักงานอัตโนมัติ เช่น    การประชุมทางไกล โดยอาศัย Teleconference หรือ VDO Conference
5.    การเก็บรักษา (Storage)เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการจัดเก็บเอกสาร ข้อมูล แฟ้มข้อมูล โดยอาศัยสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ไมโครฟิล์ม (Microfilm) จานแม่เหล็ก (Harddisk) แผ่นแม่เหล็ก(Diskette) แผ่นซีดีรอม (CD-ROM) รวมถึงเทปแม่เหล็ก (Magnetic tape) เป็นต้น
ชนิดของระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Types of Office Automation System) มีรายละเอียดดังนี้
ระบบสารสนเทศสำนักงาน (Office Information System) สามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่ ระบบการจัดการเอกสาร ระบบการดูแลข่าวสาร ระบบการประชุมทางไกล และระบบสนับสนุนสำนักงาน ซึ่งระบบจำเป็นจะต้องอาศัยโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีใหม่ๆ ทางฮาร์ดแวร์เข้ามาช่วย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของสำนักงานยุคใหม่

1. ระบบการจัดการเอกสาร (Document management system) จากรูปที่ 1 แสดงให้เห็นว่าระบบการจัดการเอกสาร ประกอบด้วย ระบบการประมวลผลคำ, ระบบการประมวลผลภาพ, การจัดพิมพ์ตั้งโต๊ะ, การทำสำเนาเอกสาร และหน่วยเก็บข้อมูลถาวร
                1.1. ระบบการประมวลผลคำ (Word Processing) เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้สำหรับช่วยในการพิมพ์เอกสารต่างๆ ได้เร็วขึ้น โดยมีจุดเด่น คือ สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ตลอดเวลา โปรแกรมสำเร็จรูปประเภทประมวลผลคำมีหลายโปรแกรม ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เช่น       CU-Writer, เวิร์ดราชวิถี, Word Perfect, Wordstar  และMicrosoft word เป็นต้น โดยส่วนมากโปรแกรมประเภทนี้   จะช่วยสร้างเอกสาร แก้ไข จัดรูปแบบ ขอบเขตของเอกสาร การบันทึกเอกสาร การคัดลอกหรือการย้ายข้อความเป็นบล๊อก การค้นหาคำ การแทนที่คำ การตรวจสอบคำผิด และการทำ     จดหมายเวียน Microsoft word 97 ยังมีความสามารถพิเศษอื่นๆอีกมากมาย เช่นการตรวจคำและไวยากรณ์ การนับคำ และความสามารถ    ในการเรียกข้อความขึ้นมาดูก่อนสั่งพิมพ์
1.2 การจัดพิมพ์ตั้งโต๊ะ (Desktop Publishing) สำนักงานในปัจจุบันนิยมใช้กันมาก เนื่องจากสามารถใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ไม่จำเป็นต้องเป็นเครื่องเฉพาะ Desktop Publishing เป็นเทคโนโลยีพัฒนามาจาก Word Processing โดยเป็นการผสมระหว่างซอฟท์แวร์ทางด้าน Word Processing ที่มีความสลับซับซ้อนกับโปรแกรมด้านกราฟฟิก สามารถใช้แบบตัวอักษรได้หลายภาพ หลายแบบ การใช้สี ภาพที่ได้จากการสแกนเนอร์ รวมทั้งการใช้เครื่องพิมพ์เลเซอร์ ความละเอียดสูง ทำให้เอกสารที่ได้มีความชัดเจน ละเอียด โดยทั่วไปหน่วยงานที่นำโปรแกรม Desktop Publishing    มาใช้มักใช้กับการทำรายงาน วารสาร แผ่นพับ และเอกสารต่างๆ โดยสามารถเพิ่มความเร็วในการทำงาน และลดค่าใช้จ่ายทางด้านบุคลากรที่ขาดแคลน โปรแกรมประเภทนี้ที่นิยมใช้ ได้แก่ PageMaker, CorelDraw และ Microsoft PowerPoint เป็นต้น ในส่วนของฮาร์ดแวร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ควรจะมีหน่วยความจำตั้งแต่ 16 เมกะไบต์ (MB) ขึ้นไป และควรจะมีความละเอียดบนจอภาพตั้งแต่        800  600 จุด ขนาดของจอภาพ ตั้งแต่  ขึ้นไป แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตัวโปรแกรมและความละเอียดของภาพ ขนาดของภาพ เป็นต้น
                1.3 ระบบการประมวลผลภาพ (Image Processing System) เป็นระบบที่มีการประมวลผลโดยอาศัยรูปภาพ ซึ่งนับเป็นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างยิ่ง โดยการอาศัยอุปกรณ์ในการสแกนภาพเข้าไปในคอมพิวเตอร์โดยใช้เครื่องสแกนเนอร์ (Scanner) ต่อเชื่อมกับเครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องพิมพ์เลเซอร์ จากนั้นก็เข้าสู่โปรแกรมการสแกนภาพ ซึ่งโปรแกรมนี้จะทำหน้าที่ในการติดต่อระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ หากอุปกรณ์ใดไม่พร้อมโปรแกรมจะแสดงข้อความเตือน ภาพที่ถ่ายเข้าไปสามารถที่จะปรับแต่ง ย่อ ขยาย หรือใส่ข้อความประกอบเข้าไป เช่นโปรแกรม Aldus PageMaker, Microsoft office การประมวลภาพมักนิยมใช้ร่วมกับระบบบริการต่างๆ โดยผ่านเครือข่ายเฉพาะที่
               1.4.การทำสำเนา (Reprographics) เป็นกระบวนการทำสำเนาเอกสารต่างๆ เช่น    การทำสำเนารายงานจดหมาย และเอกสารอื่นๆ เพื่อที่จะสามารถแจกจ่ายเอกสารให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องได้รวดเร็ว ในสมัยนี้การพิมพ์สำเนาเอกสารจำนวนมากนิยมใช้เครื่องระบบสำเนาอัจฉริยะ (Intelligent Copier System) โดยเอาเครื่องนี้ต่อเชื่อมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดกลาง หรือขนาดเล็ก และต่อเข้ากับเครื่องพิมพ์เลเซอร์ วิธีการทำเอกสารจะถูกทำขึ้นที่เครื่องคอมพิวเตอร์ และส่งมายังเครื่องอัดสำเนา ซึ่งเครื่องอัดสำเนาจะพิมพ์สำเนาตามที่ผู้ใช้ต้องการได้อย่างรวดเร็ว
                     1.5 หน่วยเก็บข้อมูลถาวร (Archival Storage) การจัดเก็บเอกสารในสมัยก่อนจะ   อยู่ในรูปกระดาษเมื่อนานเข้าจำนวนเอกสารก็เพิ่ม การค้นหาเอกสารทำได้ยาก และการเก็บรักษาก็ใช้พื้นที่มาก ในปัจจุบันเอกสารต่างๆได้ถูกเก็บบันทึกไว้ในคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง เช่น จานแม่เหล็ก (Disk) แผ่นแม่เหล็ก(Diskette) เทปแม่เหล็ก (Magnetic Tape)จานแสดง (Optical Disk) และคอมพิวเตอร์แสดงผลไมโครฟิลม์ (Computr Output Microfilm :COM) ทำให้องค์การสามารถจัดเก็บข้อมูลได้มาก สะดวกในการเก็บรักษาใช้พื้นที่น้อย จึงเป็นที่นิยมในปัจจุบัน
2. ระบบการจัดการข่าวสาร (Message Handling Systems) จากรูปที่ 1 จะเห็นว่าระบบ     สารสนเทศสำนักงาน (OIS) มีระบบที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับการจัดการข่าวสาร ซึ่งประกอบด้วย ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์, ไปรษณีย์เสียง, โทรสาร ดังนี้
                                2.1 ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic mail : Email) เป็นวิธีหนึ่งที่จะทำให้บุคคลสามารถติดต่อส่งข่าวสารไปยังบุคคลอื่น โดยอาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์ โมเด็ม และสื่อในการติดต่อ เช่น สายโทรศัพท์ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์จะเก็บข่าวสารข้อมูลของสมาชิกไว้ที่ศูนย์กลาง เมื่อสมาชิกเข้ามาใช้บริการจะส่งข่าวสารที่รอค้างไว้ส่งออกไป การติดต่อโดยวิธีนี้ไม่ขึ้นอยู่กับเวลา และสถานที่ เป็นการลดข้อจำกัดในการติดต่อ ไม่เหมือนกับการใช้โทรศัพท์ซึ่งจำเป็นต้องมีการติดต่อสื่อสารทั้ง 2 ด้านพร้อมกันจึงไม่สะดวก การใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์จึงเป็นที่นิยมใช้ในสำนักงาน ระบบ E-mail มีทั้งแบบสาธารณะและแบบส่วนตัว บริการแบบสาธารณะส่วนใหญ่จะถูกนำเสนอโดยผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคม เช่น AT&T และ Compuserve สำหรับแบบส่วนตัวจะยอมให้เฉพาะสมาชิกที่เข้ามาใช้บริการได้เท่านั้น ซึ่งระบบเหล่านี้ต้องใช้อุปกรณ์ในการเชื่อมต่อเครือข่าย และใช้โปรแกรมระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โปรแกรม E-mail ของไมโครซอฟต์ แต่ในรูปของสำนักงานมักจะมี  การต่อเครือข่ายเฉพาะที่ (LAN) โดยคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ ข้อความที่ส่งออกไปจะเป็นตัวหนังสือ กราฟิก หรือจะเป็นเสียงก็ได้ และการส่งจากผู้ใช้คอมพิวเตอร์คนหนึ่งไปยังผู้รับอีกคน
เดียวหรือหลายคนก็ได้ ข้อความที่ส่งออกไปจะถูกเก็บไว้ในตู้ไปรษณีย์ (Mail box) ที่กำหนดไว้สำหรับผู้ใช้ภายในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
                                2.2 ไปรษณีย์เสียง (Voice mail) เป็นระบบที่ช่วยเก็บเสียงพูดของผู้ใช้โทรศัพท์ที่ติดต่อเข้ามา โดยที่เราไม่อยู่ที่โต๊ะทำงานหรือสำนักงาน เครื่องบันทึกเสียงจะมีการบันทึกเพื่อฝากข้อความไว้    ผู้เป็นเจ้าของสามารถที่จะเรียกข้อความนั้นขึ้นมาฟังได้ โดยใช้โทรศัพท์จากที่อื่นเข้าไปในสำนักงาน แล้วขอฟังเสียงที่ผู้อื่นฝากไว้ อาจจะส่งเสียงนั้นต่อไปให้ผู้อื่นได้
                                2.3 โทรสาร (Facsimile) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการส่งข้อความ รูปภาพ จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยอาศัยเครื่องโทรสาร และสายโทรศัพท์ การส่งข้อความและรูปภาพจะถูกแปลงจากกระดาษให้ออกมาในรูปของสัญญาณ โทรสารได้มีการนำมาใช้ในสำนักงานร่วม 10 ปี แต่ในอดีต   ไม่ค่อยนิยมใช้ เพราะราคาสูง และการส่งข้อความใช้เวลานาน แต่ในปัจจุบันราคาเครื่องโทรสารถูกลง ขนาดเล็ก และมีความเร็วในการส่งข้อความเพิ่มขึ้น มาตรฐานของโทรสารมีอยู่ 4 กลุ่ม โดยที่กลุ่มที่ 1 และ 2 ใช้กันในช่วงปี ค.. 1970 ใช้เวลานานในการส่งเอกสาร กลุ่มที่ 3 เป็นเครื่องส่งแบบAnalog   ทำให้การส่งเอกสารได้เร็วขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มที่ 4 มีการเทคโนโลยีแบบDigital ทำให้การส่งเอกสารเพิ่มความเร็วขึ้น นอกจากนั้นเครื่องโทรสารแบบDigital ยังสามารถต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้
                3. ระบบประชุมทางไกล (Teleconferencing System) นอกเหนือจากการประยุกต์ที่เกี่ยวกับระบบการจัดการข้อมูล เช่น ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ไปรษณีย์เสียง ยังมีการเพิ่มอุปกรณ์เพื่ออำนวยความสะดวกอื่นๆ แก่พนักงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดต่อสื่อสารกันในระยะทางไกล ในสำนักงานอัตโนมัติจะมีการใช้ระบบประชุมทางไกล ระบบโทรทัศน์ภายในสำนักงาน และระบบการทำงานทางไกล
                                ประเภทของการประชุมทางไกล (Types of Teleconferencing) การประชุมทางไกลเป็นการติดต่อกันทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นการติดต่อทางไกล ระบบการประชุมทางไกลจะทำให้คู่สนทนาสามารถติดต่อกันได้โดยไม่ต้องเดินทางมาประชุมร่วมกัน แต่สามารถที่จะประชุมกันในสถานที่ต่างกัน การประชุมทางไกลสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ การประชุมด้วยเสียง การประชุมด้วยภาพ และการประชุมด้วยคอมพิวเตอร์
                                3.1 การประชุมด้วยเสียง (Audio Teleconferencing) เป็นการประชุมทางไกล หรือการติดต่อสื่อสารทางไกล โดยคู่สนทนาจะสามารถได้ยินแต่เพียงผู้ที่เกี่ยวข้องในการประชุมเท่านั้น   ผู้พูดสามารถที่จะเลือกให้ใครได้ยินคำสนทนาก็ได้ ซึ่งการสนทนานั้นจะเป็นคู่ หรือกลุ่มก็ได้ ซึ่ง    การประชุมโดยวิธีนี้สามารถกระทำได้ไกล และไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายจึงเป็นที่นิยม
                                3.2 การประชุมด้วยภาพ (Video Teleconferencing) เป็นการประชุมทางไกล โดย   ผู้ร่วมประชุมสามารถที่จะติดต่อพูดคุยกันได้ โดยผู้สนทนาจะได้ยินเสียง และภาพของคู่สนทนาในขณะที่มีการประชุม การประชุมด้วยภาพ เริ่มมีการใช้ตั้งแต่ปี ค.. 1964 โดยบริษัท AT&T แต่ในขณะนั้นราคาค่อนข้างสูง แต่ในปัจจุบันราคาอุปกรณ์ถูกลงจึงเป็นที่นิยมกันมาก
3.3 การประชุมด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer Teleconferencing) ซึ่งถือว่าเป็น    การประชุมทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยผู้ร่วมประชุมจะมีการติดต่อสื่อสารกันโดยผ่าน E-mail และจะมีการเก็บข้อมูลข่าวสารการสนทนาไว้ในตู้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic mailbox) ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถที่จะเข้ามาในตู้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ได้ ซึ่งข้อมูลข่าวสารที่เก็บไว้อาจจะเกิดจากการป้อนเข้าไป แล้วปรากฎบนจอ และมีการเก็บบันทึกไว้เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องเรียกดูได้
                                3.4 โทรทัศน์ภายใน (In house television) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อทางธุรกิจ โดยสำนักงานจะมีการกระจายข่าวให้กับสมาชิก เพื่อเอื้ออำนวยในการติดต่อสั่งซื้อสินค้า โดยผ่านทางโทรทัศน์ที่เป็นช่องสถานีของสำนักงานนั้น
                                3.5 การทำงานทางไกล (Telecommuting) เป็นเทคโนโลยีที่คนทั่วไปใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างบ้านไปที่สำนักงาน โดยเป็นการหลีกเลี่ยงการไปทำงานที่สำนักงาน โดยพนักงานสามารถทำงานที่บ้านแล้วส่งผลงานไปที่สำนักงาน เป็นการประหยัดเวลาในเรื่องของการเดินทาง ลดค่าใช้จ่าย ประสิทธิภาพในการทำงานของสำนักงานเพิ่มขึ้น

                4. ระบบสนับสนุนสำนักงาน (Office Support System) ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีหลักสำหรับการจัดการเอกสาร การแลกเปลี่ยนเอกสาร และการจัดการประชุม นอกจากระบบเหล่านี้ยังมีการประยุกต์ใช้โดยการประสานงาน และการจัดการเกี่ยวกับกิจกรรมงานกลุ่ม สิ่งต่างๆเหล่านี้ประกอบด้วยโปรแกรมกลุ่ม (Groupware) และ โปรแกรมตั้งโต๊ะอเนกประสงค์ (Desktop organizers)
                                4.1 โปรแแกรมเครือข่าย (Groupware) ประกอบด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปที่ถูกออกแบบเพื่อสนับสนุนการทำงานกลุ่ม โดยมีการรวมโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อสนับสนุนกิจกรรมเกี่ยวกับรูปแบบของกิจกรรมสำหรับการทำงานกลุ่ม ประกอบด้วย
1)     บริการเกี่ยวกับการประมวลผลคำ รวมถึงความสามารถสำหรับผู้ใช้จำนวนมากที่ใช้เอกสารที่เหมือนกัน
2)     บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
3)     บริการไปรษณีย์เสียง
4)     บริการประชุมด้วยคอมพิวเตอร์
5)     บริการโทรสาร
6)      การเข้าถึงฐานข้อมูล และบริการติดต่อสื่อสาร เช่น Compuserve เป็นต้น
โปรแกรมสำเร็จรูปเครือข่าย (Groupware) อาจจะจัดเตรียมบริการให้กับสมาชิกกลุ่ม เช่น
1)     บริการจัดการโครงการ
2)     มีการร่วมใช้รายการหมายเลขโทรศัพท์
3)     บริการเกี่ยวกับการจัดตาราง และปฏิทินกลุ่ม
4)     บริการกระดาษโฆษณา
4.2 โปรแกรมตั้งโต๊ะอเนกประสงค์ (Desktop Organization) เป็นประเภทของโปรแกรมที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถที่ใช้คอมพิวเตอร์ได้อเนกประสงค์ ทั้งในรูปแบบของการประมวลผลคำ และการประมวลภาพ โดยจะมีปุปกรณ์ภายในโปรแกรมหลายอย่างที่ให้ความสะดวกแก่ผู้ใช้ เช่น ปฏิทิน การใช้แฟ้มนามบัตร กระดาษบันทึก นาฬิกา และเครื่องคิดเลข เช่นโปรแกรมMicrosoft Windows ตั้งแต่รุ่น 3.1,3.11 for workgroup และMicrosoft Windows 95 โดยทีคำสั่งเหล่านี้มีประโยชน์ดังนี้
1)    กระดาษบันทึก (Notepad) จะทำงานในลักษณะคล้ายโปรแกรมประมวลผลคำ บางครั้งเรียกว่า Text editor ใช้สำหรับบันทึกข้อความธรรมดา เหมาะสำหรับการสร้าง หรือแก้ไขไฟล์ขนาดเล็ก ใช้พื้นที่หน่วยความจำน้อย เหมาะกับการนำไปใช้ร่วมกับโปรแกรมอื่น
2)   การใช้แฟ้มนามบัตร (Cardfile) แฟ้มนามบัตรเป็นสิ่งหนึ่งบนโต๊ะทำงานที่ใช้สำหรับช่วยอำนวยความสะดวกในการติดต่อกับลูกค้าหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ส่วนใหญ่จะมีรายละเอียดที่บันทึกดังนี้ คือ รหัส ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ หรืออาจจะมีอย่างอื่นตามที่ผู้ใช้ต้องการ รายละเอียดเหล่านี้จะถูกจัดเก็บ โดยสามารถเรียงลำดับเพื่อสะดวกในการค้นหาข้อมูล
3)   การใช้นาฬิกา (Clock) สามารถแสดงนาฬิกาได้จากการเปิดโปรแกรม Accessory ในวินโดว์ รูปแบบนาฬิกาจะให้แสดงแบบเข็ม หรือแบบตัวเลขก็ได้
4)    การใช้เครื่องคิดเลข (Calculator) เครื่องคิดเลขเป็นอุปกรณ์ตั้งโต๊ะบนวินโดว์ จะมีโปรแกรมเครื่องคิดเลขให้ใช้ได้ 2 แบบ ทั้งแบบเครื่องคิดเลขมาตรฐาน และเครื่องคิดเลขแบบวิทยาศาสตร์
5)   การใช้ปฏิทิน (Calendar) ปฏิทินในวินโดว์ได้รวมเอาส่วนของวันเดือนปี และสมุดบันทึกไว้ด้วยกัน การบันทึกเวลานัดหมายจะจดบันทึกไว้โดยมีเสียงเตือน เมื่อถึงกำหนดเวลา และสามารถพิมพ์เวลานัดหมายได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น